คลังเรื่องเด่น
-
คู่บารมีของพระโพธิสัตว์( กับดัก สำหรับผู้ปราถนาพุทธภูมิ)
คู่บารมีของพระโพธิสัตว์
***************************
ขอบคุณและอนุโมทนาที่มา https://www.youtube.com/@วุฒิตี้ธุดงค์กรรมฐาน -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
ผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก คือ ผู้ที่เปี่ยมไปด้วยบุญบารมี
ผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลกต้องเป็นพระนางสิริมหามายา เพราะว่านอกจากประกอบด้วยเบญจกัลยาณีแล้ว ยังมีอิตถีลักษณะอันงามอีก ๖๔ ประการ ประเภทไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน ไม่อ้วนเกิน ไม่ผอมเกิน เพราะว่าทั้งหมดจะเป็นส่วนประกอบที่ทำให้บุคลิกลักษณะ หรือมหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้าสมบูรณ์ ถ้าสูงเกินเวลาอุ้มเด็กให้กินนม เด็กจะต้องยืดคอ ทำให้คอยาว จะเสียมหาปุริสลักษณะ แม่จึงต้องสมบูรณ์พร้อม เพราะฉะนั้น..ผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลกต้องเป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า
ไม่รู้ว่าอาตมาโชคดีหรือโชคร้ายที่ไปเห็นนางฟ้าเข้า มีภาษิตจีนอยู่บทหนึ่งว่า ผ่านทะเลเห็นน้ำไร้ความหมาย เข้าใจความหมายไหม ? คนที่เคยเห็นทะเลแล้ว แม่น้ำอื่น ๆ ก็เล็กไปหมด ดันทะลึ่งไปเห็นนางฟ้าเข้าทีนี้หมดเลย เพราะนางฟ้าเขาต้องบอกว่างามด้วยบุญ สมบูรณ์บริบูรณ์จริง ๆ ประเภทท้ายแถวของเขานี่ หัวแถวของเราสู้ไม่ได้หรอก
ถ้าเป็นโลกมนุษย์เราต้องลักษณะว่ามีราศี เราสังเกตเห็นคนบางคนว่า ถ้าจะนับดูบุคลิกลักษณะรูปร่างหน้าตาแล้ว ไม่นับว่าสวยไม่นับว่าหล่อ แต่เขามีอะไรบางอย่างที่แสดงออกซึ่งความดีความงาม ชนิดคนอื่นสู้ไม่ได้เลย นั่นคือราศีหรือรัศมีบุญที่เปล่งออกมาข้างนอก... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
หลวงตาพระมหาบัว ก็ยังยืนเหมือนเดิม.."พระดี .. จะมีอะไรดีไปกว่านี้อีก"
แม้ผ่านไปนานหลายปี ..หลวงตาพระมหาบัว ก็ยังยืนเหมือนเดิม..
"พระดี จะหาอะไรดียิ่งกว่านั้นไปอีก" หลวงตาปรารภถึงหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ คลิป 3 นาที หลวงตาสนทนากับลูกศิษย์ เรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อเย็นวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
**************
ขอบคุณที่มา https://www.youtube.com/@Gamesdotanewsgdn -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
กราบสักการะ "พระเขี้ยวแก้ว"
กราบสักการะ "พระเขี้ยวแก้ว"
วันที่ 7 ธ.ค.67 ที่บริเวณท้องสนามหลวง ตลอดทั้งวันมีประชาชนจำนวนมาก เดินทางเข้ากราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ "พระเขี้ยวแก้ว" เพื่อความเป็นสิริมงคล หลังรัฐบาลไทยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว จากวัดหลิงกวง ประเทศจีน มาประดิษฐานที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อความเป็นสิริมงคลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
และ ทุกวันพระ มีพิธีแสดงธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ (ในภาคเช้า)
ประชาชนสามารถเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ได้ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 07.00น.- 20.00น.ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร โดยมีการจัดเตรียมดอกไม้ โปสการ์ด และน้ำดื่มไว้บริการ
ขอบคุณที่มา https://siamrath.co.th/n/585960 -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
สวดมนต์คนเดียวกับสวดพร้อมกันตามเวลาแบบไหนจะสำเร็จได้เร็วกว่ากัน
สวดมนต์คนเดียวกับสวดพร้อมกันตามเวลาแบบไหนจะสำเร็จได้เร็วกว่ากัน
#หลวงปู่ดู่ #หลวงตาม้า #ถ้ำเมืองนะ
**************
ที่มา https://www.youtube.com/@prommapunyo -
การปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องดูที่ตัวเอง แก้ที่ตัวเอง
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ๗ เมษายน ๒๕๕๕
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีปรากฏการณ์บางอย่าง ทำให้นักปฏิบัติของเราเกิดอาการใจร้อน ใจเร็ว มีการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปากมีเสียงกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ลับหลังนั้นก็เป็นไปทั้งทางโทรศัพท์ก็ดี ทางอินเตอร์เน็ตก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ความจริงก็เป็นเรื่องปกติของโลก แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้ว เป็นการวัดตนเองได้ดีที่สุดว่า การปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้นหรือว่าถดถอย ? ..
ฉะนั้น..การที่เราเป็นนักปฏิบัติ จำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนอารมณ์ปฏิบัติของเราอยู่เสมอ จะได้รู้ว่าตอนนี้เราทำไปถึงที่ใดแล้ว ? มีความก้าวหน้าหรือถอยหลังอย่างไร ? จำเป็นต้องเร่งในจุดไหน ? ต้องผ่อนในจุดไหน ? หรือว่าปรับเปลี่ยนทิศทางในการปฏิบัติของตนอย่างไร ? ถ้าหากว่าไม่มีการทบทวน การปฏิบัติของเราก็จะสำเร็จได้ยาก การไตร่ตรองทบทวนตัวนี้ก็คือวิมังสาในอิทธิบาท ๔ นั่นเอง
คราวนี้สิ่งที่จะเป็นเครื่องวัดการปฏิบัติของเรานั้น ในส่วนที่หยาบที่สุดก็คือนิวรณ์ ๕ ได้แก่ ความยินดีในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ๑ ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ๑... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
อย่าให้กาย วาจา และใจของเรา เป็นทุกข์เป็นโทษแก่คนอื่น
อย่าให้กาย วาจา และใจของเรา เป็นทุกข์เป็นโทษแก่คนอื่น
พระอาจารย์กล่าวว่า "สำหรับญาติโยมที่ไปช่วยพระตอนบิณฑบาต ส่วนใหญ่แล้วยังไปเดินเกะกะรถยนต์เขาอยู่ดี ถ้าเป็นคนเคยขับรถไม่น่าจะทำอย่างนั้น แต่บางทีคนขับรถพอถึงเวลาออกจากหลังพวงมาลัยมาก็ลืมอีก
การที่เราเดินล้ำเข้าไปในถนนแม้แค่คืบเดียว ก็ทำให้รถที่วิ่งมาไม่แน่ใจว่าจะพ้นหรือเปล่า เพราะว่าบ้านเราขับรถพวงมาลัยขวา ถึงเวลาเขามองซ้าย มุมด้านซ้ายจะโดนบังหมด มองไม่เห็น นอกจากอยู่ระยะก่อนรถยนต์วิ่งถึงหรือว่าวิ่งเลยไปแล้ว คราวนี้ในช่วงระยะที่รถยนต์กำลังจะวิ่งผ่าน เขากะระยะไม่ถูกว่าจะเฉี่ยวชนเราหรือไม่ แล้วพวกเราก็มักจะเดินกันเต็มถนนเพราะเราเห็นว่าไม่โดนรถ แต่รถนะไม่เห็น รถจะคิดว่าโดนเราอยู่เสมอ เขาจึงไปไม่ได้แล้วก็พาให้รถติด ไม่ต้องเมตตาไปยืนโบกให้เขา แค่เราถอยมาเขาก็ไปได้แล้ว ส่วนใหญ่ยืนล้ำไปค่อนถนนแล้วดันไปโบกให้เขาอีก...
จำเอาไว้ว่า อย่าให้ กาย วาจา และใจของเรา เป็นทุกข์เป็นโทษแก่คนอื่น เพราะจะก่อกรรมโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว การสร้างกรรมแม้เพียงเล็กน้อยก็มีผลสืบเนื่องไปในชาติต่อ ๆ ไป อาจจะทำให้เกิดอุปสรรค... -
."อุเบกขา เป็นธรรมโอสถ" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"อุเบกขา เป็นธรรมโอสถ"
" .. "อุเบกขาเป็นธรรมในธรรมสำคัญหมวดหนึ่ง คือพรหมวิหารธรรม" มนุษย์ก็ได้ชื่อว่าเป็นพรหมแม้มีธรรมหมวดนี้สมบูรณ์ "คือมีพรัอมทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา"
"อุเบกขา" หมายถึง การวางใจเป็นกลางวางเฉย ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย จึงไม่หวั่นไหวด้วยความยินดีหรือความยินร้าย "หวั่นไหวเพราะความยินดี" แม้มากย่อม "เป็นเหตให้ฟุัง" หวั่นไหว "เพราะความยินร้าย แม้มากย่อม "เป็นเหตุให้เครียด"
"อุเบกขาจึงเป็นธรรมโอสถ เครื่องรักษาโรคทางจิต ทั้งสอง คือทั้งโรคฟุ้งและโรคเครียด" ท่านผู้มีปัญญาเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมโอสถนี้ "จึงสนใจอบรมอุเบกขา เพื่อรักษาใจให้ปราศจากโรค" ให้เป็นใจที่สมบูรณ์สุขอย่างแท้จริง .. "
"แสงส่องใจ" ๓ ตุลาคม ๒๕๒๖
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
"ระดับของปัญญา" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
.
"ระดับของปัญญา"
คำถาม : ศีล สมาธิ ปัญญา ในระดับต่าง ๆ กันนั้น เหมือนกันหรือแตก
ต่างกันอย่างไร
ขณะที่มีผู้ถามมนั้น ตอนนั้นหลวงปู่ดูลย์กำลังปะชุนเย็บจีวรอยู่ เมื่อท่านฟังคำถามนั้นจบลง ท่านก็ยกเข็มให้ดูแล้วกล่าวว่า ..
"คุณลองดูว่าเข็มนี้แหลมไหม"
ผู้ถามก็ตอบว่า "แหลมขอรับหลวงปู่"
หลวงปู่อธิบายว่า : "ความแหลมคมของสติปัญญาในระดับเด็ก ระดับผู้ใหญ่ ก็มีความแหลมคมไปคนละอย่าง แต่ในระดับความแหลมคมของสติ ปัญญาพระอรหันต์นั้น อยู่เหนือความแหลมคมทั้งหลายทั้งปวง
ความแหลมคมของเข็มนั้นเกิดจากคนเราทำขึ้น "แต่สติปัญญาที่เกิดจากพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ระดับโลกุตรธรรม" ที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน มีความมั่นคงไม่แปรเปลี่ยนอีกแล้ว
สำหรับสติปัญญา ระดับปุถุชนก็เป็นศีล สมาธิ ปัญญา เช่นกัน "แต่เป็นศีล สมาธิ ปัญญาที่จะต้องระมัดระวัง เพราะยังอยู่ในขั้นโลกียธรรม" ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงผันแปรได้เสมอ"
คำตอบของหลวงปู่ดุลย์ดังกล่าวนั้น "ชี้ให้เป็นถึงไหวพริบและปฏิภาณในการอธิบายข้อธรรมที่ลุ่มลึกได้อย่างฉับไว" โดยสามารถยกสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนธันวาคม ๒๕๖๗
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนธันวาคม ๒๕๖๗ -
"แต่ปางก่อน" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"แต่ปางก่อน"
" .. ระหว่างพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ "เรื่องที่ไม่น่าจะเกิดได้อุบัติขึ้นแก่ท่านโดยบังเอิญ ที่ว่าไม่น่าจะเกิดนั้น ก็เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสตรีเพศ"
เรื่องมีว่า "วันหนึ่งพระอาจารย์สิงห์ ได้พาท่าน(หลวงปู่ฝั้นฯ)ไปนมัสการท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ(หนู) ที่วัดสระปทุม ระหว่างทางได้เดินสวนกับผู้หญิงคนหนึ่งเข้า" นับตั้งแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา
พระอาจารย์ฝั้น "ก็ลืมผู้หญิงคนนั้นไม่ลง ท่านรู้สึกว่า ท่านได้เกิดความรักขึ้นในใจเสียแล้ว" ขณะเดียวกันท่านก็บอกตัวเองด้วยว่า ท่านจะต้องขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปเสียให้พ้นจากความรู้สึกนึกคิดให้ได้
กลับวัดบรมนิวาสในวันนั้น "ท่านได้นั่งภาวนา พิจารณาแก้ไขตัวเองถึงสามวันแต่ก็ไม่ได้ผล ใบหน้าของหญิงผู้นั้น ยังคงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด" จนไม่อาจสลัดให้ออกไปได้
ในที่สุดเมื่อเห็นว่า "เป็นการยากที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเองแล้ว ท่านจึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้พระอาจารย์สิงห์ฟัง" เพื่อให้ช่วยแก้ไข
พระอาจารย์สิงห์ได้แนะให้ท่าน "ไปพักในพระอุโบสถ พร้อมกับให้พิจารณาทำความเพียรให้หนักขึ้น พระอาจารย์ฝั้น ได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในพระอุโบสถ เป็นเวลาถึง ๗... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ -
ปกิณกธรรมช่วงบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม วันลอยกระทง วันที่ ๑๕ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
ก่อนปฏิบัติธรรมช่วงเช้า วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
ลอยกระทงมาจากงานดีปวาลีของทางประเทศอินเดีย พอมาถึงเมืองไทยก็แปลงเป็นตามประทีป ดีปะ ก็คือ ทีปะ ก็คือ ประทีป ทีปะส่วนใหญ่สมัยก่อนก็หมายเอาดวงเทียน บางทีคำว่า "ทีปะ" มีอีกความหมายหนึ่งก็คือ "แผ่นดินใหญ่" ที่คนไทยใช้คำว่าทวีป
คราวนี้การลอยกระทงก็น่าจะมาเริ่มกันตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ก่อนหน้านั้นอาจจะมี แต่ว่าไม่ชัดเจน มาชัดเจนในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ระบุถึงงานเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ดั่งมีจักแตก ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงประมาณทัวร์ลง..!
ประเพณีในบ้านเราผูกพันกับศาสนาพราหมณ์แล้วก็การนับถือผี ในเมื่อความผูกพันมีกับศาสนาพราหมณ์มาแต่ต้น พิธีกรรมต่าง ๆ ก็เลยเป็นไปตามแบบศาสนาพราหมณ์เป็นเสียส่วนมาก เพราะว่าพราหมณาจารย์ต่าง ๆ ที่เดินทางจากชมพูทวีปในสมัยนั้นเข้ามาในสุวรรณภูมิ ส่วนใหญ่ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงความรู้
สมัยก่อนเขาเรียนไตรเพท หรือว่าไตรเวท มี ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ระยะหลังพอเนื้อหาแตกหน่อแตกกอออกไปเยอะมาก ก็มีคัมภีร์ที่สี่ขึ้นมาเป็นอาถรรพเวท ซึ่งก็คือพวกเวทมนต์คาถาอย่างที่นิยมกัน... -
"สิ่งที่อยู่เหนือไตรลักษณ์" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
.
"สิ่งที่อยู่เหนือไตรลักษณ์"
" .. "มรรค ๘ ใครภาวนาเจริญดีแล้ว แก้โลกธรรม ๘ ประการ" ฉะนั้น "จิตท่านอรหันต์ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ" มีไตรลักษณ์บังคับ "แม้โลกีย์ทั้งหลาย มีไตรลักษณ์บังคับอยู่เสมอ" ไตรลักษณ์บังคับไม่ได้นั้น มีโลกุตระเท่านั้น
"โลกุตระอันนี้อยู่เหนือไตรลักษณ์" สถานที่เกษม "บุคคลที่จะพ้นโลกโลกีย์ไปถึงโลกุตระ ต้องสร้างพระบารมีเป็นการใหญ่" บุคคล ๓ จำพวก คือ "พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจก ๑ พระอรหันต์ ๑" .. "
"มุตโตทัย"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต -
ทำไมต้องฝึกทรงอารมณ์พระโสดาบัน /หลวงพ่อพระราชพรหมยาน( หลวงพ่อฤาษีฯ)วัดท่าซุง
ทำไมต้องฝึกทรงอารมณ์พระโสดาบัน /หลวงพ่อพระราชพรหมยาน( หลวงพ่อฤาษีฯ)วัดท่าซุง
ที่มา https://youtube.com/channel/UCSqIrJpiJwalmkyHWqRmPng?si=HmOk1pXwq77jAUhD -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ -
อยู่กับคนหมู่มากนิสัยไม่ดี ทำอย่างไรให้จิตสงบ
อยู่กับคนหมู่มากนิสัยไม่ดี ทำอย่างไรให้จิตสงบ
**************
ที่มา https://www.youtube.com/@Akaliko534 -
"กิเลส ขนาดเท่าเบญจขันธ์" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"กิเลส ขนาดเท่าเบญจขันธ์"
" .. "การภาวนาเพื่อความรู้ความฉลาด" จงค้นลงที่เบญจขันธ์ บ่อเกิดกิเลสตัณหา อยู่ที่ขันธ์ แดนพ้นทุกข์ก็อยู่ที่ขันธ์ "จะกำหนดทุกข์ก็ดี อนิจจังก็ดี อนัตตาก็ดี ในลักษณะใดก็ตาม จงกำหนดให้ประจักษ์ใจจริง ๆ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ที่ขันธ์ทั้งนั้น"
ความทุกข์ ทุกข์ตลอดอวัยวะและตลอดกาล ไม่เที่ยงและอนัตตาก็เช่นเดียวกัน ประกาศอยู่ที่ขันธ์ทุกเวลาไม่มีว่างเว้น "เห็นความจริงจากขันธ์แล้ว หายเพลินหายโศก" กิเลสไม่กว้างไม่แคบ ไม่มากไม่น้อย "มีขนาดเท่าตัวหรือเท่าเบญจขันธ์เท่านั้น" .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
หน้า 4 ของ 417