เทศน์วันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 27 กุมภาพันธ์ 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    เทศน์วันมาฆบูชา วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗



    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนันติฯ

    ณ บัดนี้ อาตภาพรับหน้าที่แสดงพระธรรมเทศนาในมาฆปูชากถา เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมีของบรรดาทานิสสราธนบดีทั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

    ญาติโยมทั้งหลาย..อันว่าวันมาฆบูชาก็ดี หรือว่าวันพระอื่น ๆ ก็ตาม เป็นวันที่เราทั้งหลายจักได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ทำบุญใส่บาตร สมาทานศีล และเจริญพระกรรมฐานกัน ตั้งแต่โบราณก็กําหนดกันมาดังนี้

    เหตุที่เป็นเช่นนั้นจะต้องกล่าวไปถึงว่า คนเราเกิดมาในโลกนี้นั้นตกอยู่ภายใต้อํานาจของธรรมชาติต่าง ๆ อย่างเช่นว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้มีการแปรปรวนไปตามปกติ มีการดึงดูดกันในระหว่างดวงดาวต่าง ๆ มีการหนุนเสริมกันและหักล้างกันของธาตุต่าง ๆ เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    โบราณาจารย์ที่ท่านมีความเข้าใจเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อสังเกตว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างเช่น น้ำขึ้น-น้ำลง นั้นก็มีทุก ๒๘ วัน ก็คือค่อย ๆ ขึ้นจนสูงสุด และค่อย ๆ ลงจนต่ำสุด สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อมีอิทธิพลต่อธรรมชาติ ก็ย่อมมีอิทธิพลต่อตัวเราทั้งหลายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติด้วย เนื่องเพราะว่าในร่างกายของเรานั้นประกอบไปด้วยน้ำถึง ๗๐%

    ดังนั้น..ปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ส่วนที่ชัดเจนที่สุดก็คือ บรรดาสตรีทั้งหลายจะมีรอบเดือนภายใน ๒๘ วัน เรื่องทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากกำลังของดวงดาวต่าง ๆ ที่มีการดึงดูดกันเป็นปกติ

    แล้วเมื่อถึงเวลา..นอกจากจะขึ้นสุดลงสุดแล้ว ยังมีการเหวี่ยงซ้ายสุดและขวาสุดอีกด้วย ตามแต่วงโคจรที่เป็นไป เมื่อเกิดสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้น บางทีท่านที่สติไม่สมบูรณ์ ก็จะออกอาการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามแรงดึงดูดเหล่านั้น

    โบราณท่านต้องการที่ให้เราทั้งหลายพ้นจากสภาวะพวกนั้น จึงได้กําหนดให้วันที่น้ำขึ้นสูงสุดก็คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่น้ำลงสูงสุดก็คือ วันแรม ๑๕ ค่ำ หรือว่าแรม ๑๔ ค่ำ และวันที่เหวี่ยงข้างสูงสุดก็คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ หรือว่าวันแรม ๘ ค่ำ นั้นเป็นวันที่เราท่านทั้งหลายจักได้มาถือศีลปฏิบัติธรรมกัน
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    เนื่องเพราะว่า..ถ้าสมาธิจิตของเราทรงตัว สิ่งกระทบภายนอกต่าง ๆ ก็จะเกิดผลแก่เราน้อยมาก หรือว่าไม่เกิดผลไปเลย ดังนั้น..โบราณที่ท่านรู้จริงในเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ จึงกําหนดวันพระ หรือที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่า "วันธรรมสวนะ" คือ วันฟังธรรม ขึ้นมา เพื่อประโยชน์ต่อเราท่านทั้งหลายที่รู้ความจริงเรื่องนี้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ถ้าท่านทั้งหลายยึดถือและปฏิบัติตาม ๆ กันไป ผลดีก็ย่อมเกิดต่อท่านทั้งหลายไปโดยอัตโนมัตินั่นเอง

    ส่วนวันสําคัญทางพระพุทธศาสนานั้น แต่เดิมไม่ได้กําหนดเอาไว้ มาเริ่มในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของเรานี่เอง เนื่องจากว่าพระองค์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ถึง ๒๗ พรรษา มีเข้าใจในเรื่องของพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง เมื่อค้นคว้าไปแล้วจึงได้กําหนดว่า วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ นั้นเป็นวันสําคัญมากวันหนึ่ง ก็คือเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ คืออุดมการณ์ หลักการ และวิธีการในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้นําคำสอนไปเผยแพร่ในแนวเดียวกัน

    ส่วนวันที่พระองค์ท่านประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ก็คือวันวิสาขบูชานั้น ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ตลอดจนกระทั่งวันที่ทรงแสดงปฐมเทศนา จนกระทั่งเกิดพระสงฆ์รูปแรกขึ้นในโลก ก็คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘

    เมื่อพระองค์ท่านได้กําหนดวันสําคัญทั้งหลายนี้ขึ้นมาแล้ว ก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นตัวอย่าง ก็คือให้มีการถือศีลปฏิบัติธรรม นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงสีลสุตาธิคุณอันงดงาม เข้าไปแสดงพระธรรมเทศนาถวายในทุกวันพระใหญ่ เป็นต้น แล้วก็ได้รับความนิยมในการปฏิบัติสืบ ๆ กันมา จนกระทั่งมาถึงรุ่นหลัง ๆ อย่างเราท่านทั้งหลาย
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    บางท่านก็อาจจะไม่รู้ว่าวันสําคัญในพระพุทธศาสนา ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงกําหนดไว้นั้น มีถึง ๔ วันด้วยกัน เรามักจะรู้จักแต่วันมาฆบูชา คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓, วันวิสาขบูชา คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ และวันอาสาฬหบูชา คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ โดยที่ลืมวันสําคัญไปวันหนึ่ง ก็คือวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ที่ท่านเรียกว่า วันอัฏฐมีบูชา หรือบางคนเรียกว่า วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นต้น

    ทั้ง ๔ วันเหล่านี้ ทรงร่างแบบและกําหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ พร้อมทั้งปฏิบัติพระองค์เป็นตัวอย่าง ก็คือให้มีการทำบุญใส่บาตร สมาทานศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม และถืออุโบสถศีล เป็นต้น

    ในเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นองค์เริ่ม ค่านิยมต่าง ๆ ก็ตกไปถึงข้าราชบริพาร บรรดาชาวบ้านทั่วไปทั้งหลาย เมื่อเห็นเสวกามาตย์ข้าราชบริพารนิยมกระทำสิ่งหนึ่งประการใด ก็ได้เลียนแบบกระทำตามมา จนกระทั่งกลายเป็นวันสําคัญของพระพุทธศาสนาอย่างทุกวันนี้
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    "ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา" แปลว่า "ขันติ" คือ ความอดกลั้นอดทนนั้นเป็นตบะอย่างสูงสุด เนื่องเพราะว่าบุคคลในยุคนั้นนิยมบำเพ็ญตบะด้วยการทรมานตนเอง อย่างเช่นว่า อดอาหารจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกบ้าง กํามือไว้จนเล็บงอกทะลุฝ่ามือบ้าง เหล่านั้นเป็นต้น หวังว่าจะเป็นการหลุดพ้นได้ แต่หาทราบไม่ว่าการหลุดพ้นที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย การที่ไปทรมานร่างกายจึงเป็นเรื่องที่เปล่าประโยชน์

    องค์สมเด็จพระสุพจน์ทรงเห็นโทษดังนั้นแล้ว เมื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจึงได้ประกาศยืนยันว่า ความอดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ยากลำบากทุกประการในการปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเกลากาย วาจา ใจ ของเราให้สะอาดบริสุทธิ์นั่นแหละ เป็นตบะสูงสุดเท่าที่จะพึงมี

    "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา" พระองค์ท่านทรงยืนยันว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์กล่าวถึง "พระนิพพาน" ว่าเป็นจุดสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือเข้าถึงความหลุดพ้น ไม่ว่าจะหลุดพ้นในขณะที่มีกายสังขารนี้อยู่ ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หรือว่าหลุดพ้นในขณะที่ล่วงลับสังขารไป ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน เป็นต้น
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    "น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี" ทรงตรัสเอาไว้ว่า ถ้าหากว่ายังฆ่าผู้อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต เนื่องเพราะว่าศาสนาอื่นนั้นยังมีการเข่นฆ่าบูชายัญ เพื่อความพอใจของพระเจ้าจะได้อํานวยอวยพรแก่ตนเอง เป็นต้น

    "สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต" ก็คือ บุคคลที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ยังไม่ชื่อว่าผู้มีบาปอันลอยแล้ว คือ "สมณะ" เนื่องเพราะว่าคนในยุคก่อนนั้น นิยมการลอยบาป นิยมการล้างบาป โดยที่ลงไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาบ้าง ทำพิธีลอยบาปบ้าง

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงขนาดตรัสกับพราหมณ์ ที่ลงไปอยู่ในแม่น้ำแต่เช้ามืดทั้ง ๆ ที่อากาศหนาวเย็นว่า "พราหมณะ..ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าการกระทำของท่านมีประโยชน์จริง กุ้งหอยปูปลาในแม่น้ำคงคาก็คงจะพ้นทุกข์เข้าสู่พระนิพพานกันหมดแล้ว" เมื่อพราหมณ์ได้สติจึงปฏิญาณตนญานตนเป็นพุทธมามะกะหันมานับถือพระพุทธศาสนา เป็นต้น
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    แล้วหลังจากนั้น..พระองค์ท่านก็ประกาศถึงหลักการในพระพุทธศาสนา ดังที่เมื่อครู่อาตมภาพได้ยกขึ้นมาว่า..

    "สพฺพปาปสฺส อกรณํ" คือ หลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาของเราต้องละเว้นจากความชั่วทั้งปวง คือ ไม่ประกอบกายทุจริตด้วยการละเมิดศีล ไม่ประกอบวจีทุจริตด้วยการพูดคําหยาบพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยมโนทุจริต คือ คิดโลกอยากได้ของเขา คิดโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น มีความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม เป็นต้น

    "กุสลสฺสูปสมฺปทา" ให้กระทำความดีให้ถึงพร้อม ก็คือตั้งหน้าให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างที่ญาติโยมทั้งหลายได้เพียรกระทำอยู่

    "สจิตฺตปริโยทปนํ" ให้ชําระจิตของตนให้สะอาดผ่องใสปราศจากกิเลส ก็คือด้วยการทรงสมาธิ เพื่อที่จะชําระใจในเบื้องต้น ด้วยการที่เรากดกิเลสเอาไว้ ไม่ให้ทำให้ใจของเราต้องขุ่นมัวเศร้าหมอง แล้วขณะเดียวกันใช้ปัญญาในการพินิจพิจารณาขัดเกลา จนกระทั่งจิตใจของเราผ่องใสบริสุทธิ์ หลุดพ้นพ้นจากเครื่องยึดเครื่องถ่วงทั้งปวง เป็นต้น

    สจิตฺตปริโยทปนํ นี้จึงกลายเป็นหลักการสําคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะว่าพระองค์ท่านยืนยันถึง "พระนิพพาน" ที่จะเข้าถึงได้ด้วยใจของเราละเว้นจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงนั่นเอง
     
  8. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    แล้วกล่าวถึง..วิธีการ ว่าทำอย่างไรจะให้ทำอย่างนั้นได้ ก็ประกอบไปด้วย..
    "อนูปวาโท" ไม่ว่าร้ายใคร ก็คือไม่นินทา ไม่ว่าร้ายผู้อื่น

    "อนูปฆาโต" ไม่ทำร้ายใคร ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายคน ทำร้ายสัตว์ ให้ลำบากโดยเจตนา ตลอดถึงเข่นฆ่าชีวิตเขา เราก็งดเว้น

    "ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร" ให้สํารวมในปาฏิโมกข์ คือศีลตามเพศภาวะของตน อย่างเช่นว่าถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีล ๕ เป็นอุบาสก-อุบาสิกาก็รักษาศีล ๘ ถ้าหากว่าเป็นสามเณรรักษาศีล ๑๐ เป็นพระภิกษุสงฆ์รักษาศีล ๒๒๗ เป็นต้น

    ในเมื่อเรารักษาศีลของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว พระองค์ท่านยังแนะนําว่า "มตฺตญฺญุตา จภตฺตสฺมึ" ก็คือรู้ประมาณในการบริโภค เอาแค่สามารถที่จะทรงสังขารนี้อยู่ เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่กินล้นกินเกินจนกลายเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและโรคภัยต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า

    ในส่วนของ "ปนฺตญฺจ สยนาสนํ" พระองค์ท่านแนะนําให้เราในเบื้องต้นปลีกตัวออกจากหมู่ รู้จักอยู่อาศัยในที่สงัด จะได้ไม่เกิดการรบกวนจนกําลังใจของเราเสียหาย จนกระทั่งมั่นคงดีเต็มที่แล้ว จึงออกมาชนกับกิเลสต่าง ๆ ได้โดยที่กําลังใจของเรามั่นคงทรงตัวอยู่

    และท้ายที่สุด "อธิจิตฺเต จ อาโยโค" หมั่นประกอบในการทำจิตให้สะอาด ก็คือหมั่นที่จะทรงสมาธิสมาบัติเอาไว้ ทำให้รัก โลภ โกรธ หลง กินใจของเราไม่ได้ แล้วท้ายที่สุดเมื่อเราเห็นทุกเห็นโทษแล้วก็ค่อย ๆ ถอนจากการยึดการเกาะออกมา อันดับแรกก็ลดการกระทำที่ไม่ดีไม่งามทางกาย ทางวาจา และทางใจลงไป แล้วหลังจากนั้นก็ละกลืนหนีห่างจากการกระทำเหล่านั้น ด้วยการงดเว้นอย่างเด็ดขาด ก็กลายเป็นการเลิกทำในสิ่งที่ชั่ว กระทำแต่ในสิ่งที่ดี
     
  9. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    ถ้าสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยึดเอาอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ ในโอวาทปาฏิโมกข์ไว้ในการดําเนินชีวิตของแต่ละท่านแต่ละคน ก็จะสามารถทำให้ชีวิตของท่านพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ จากปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เป็นกัลยาณชนผู้ทรงศีลสมบูรณ์ เป็นอริยชนพูดที่ละกิเลสได้ตามลำดับ ๆ ไป

    ดังนั้น..ในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา ที่พระองค์ท่านแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นั้น เราท่านทั้งหลาย..ถ้าสามารถระลึกถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนพระธรรมที่พระองค์ท่านพร่ำสอนไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระสงฆ์ทั้งหลายที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบ

    ตลอดจนกระทั่งให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็แปลว่าท่านทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะผู้มีพระพุทธศาสนาอยู่ในหัวใจ เป็นการปฏิบัติตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แนะนําเอาไว้อย่างแท้จริง
     
  10. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    20,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,611
    ค่าพลัง:
    +26,464
    เทสนาปริโยสาเน..ท้ายสุดแห่งพระธรรมเทศนา อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย คือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ เป็นประธาน ตลอดจนบารมีของหลวงปู่สาย อคฺควํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนนี้เป็นที่สุด

    จงมารวมกันเป็นตบะเดชะ พลวปัจจัย ดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย ประสบแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดจนถึงธนสารสมบัติอันเป็นที่พึงใจทั้งปวง

    รับหน้าที่วิสัชนามาในมาฆปูชากถาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เทศน์วันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย หยาดฝน)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...