วิจิกิจฉา(สงสัยในพระธรรม)

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย pongio, 26 พฤษภาคม 2013.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    โดยส่วนตัวแล้วมีความรู้สึกว่าศีล5 น่าจะมี 6 ข้อแล้วเรียกชื่อใหม่ว่าศีล 6 ครับ เนื่องจากผมวิเคราะห์ดุูแล้ว ศีลในแต่ละข้อนั้นมีการลักษณะเรียงลำดับตามความหนักเบา หรือตามโทษที่ควรได้รับดังนี้
    ศีลข้อที่1 การฆ่านี้บาปหนักมาก ในโลกมนุษย์ติดคุก ในโลกหน้าไปนรกแน่นอน (น้ำหนักมาก) แต่พอศีลข้อที่4 ปาบไม่หนักมาก(ยกเว้นด่าพระอริยสงฆ์) ในโลกมนุษย์ฟ้องร้องในเรื่องหมิ่นประมาท ในโลกหน้าไปอยู่ในทุคติภูมิ (แต่อาจไม่ลงนรกก็ได้) ดังนั้นน้ำหนักจึงค่อนข้างเบา ยิ่งถ้าพิจารณาในเรื่องกุศลกรรมบท 10 ในเรื่องการพูดเพ้อเจ้ออันนี้น่าจะเบามาก เพราะการพูดตลก ไร้สาระ สนุกสนาน บางทีเป็นการผ่อนคลายความเครียด
    แต่ในทางโลก การพนันจัดเป็นสิ่งอันตรายอันดับต้นๆ (รองจากยาเสพติด) เนื่องจากทำให้เกิดการมัวเมา เป็นเหตุให้เกิดการฆ่ากัน เป็นเหตุให้เกิดการชิงทรัพย์ การปล้น ทำให้ครอบครัวแตกแยก แต่น่าแปลกที่ไม่ได้ถูกจัดไว้ในศีล 5 หรือ กุศลกรรมบท 10 ทั้งที่การพูดเพ้อเจ้อ นั้นน่าจะเป็นความผิดที่เบากว่ามาก(ตามความเห็นส่วนตัวน่ะครับ) เพราะการพูดนั้นไม่ได้สร้างความโกรธความเจ็บช้ำน้ำใจ หรือการหลอกลวงที่ทำให้เสียประโยชน์
     
  2. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    โทษของการล่วงศีลทุกข้อมีความหนักแตกต่างกันไปตามลักษณะของอาการที่ล่วง ไม่ควรกล่าวว่าข้อใดหนักกว่าข้อใด เพราะที่จริงเมื่อชื่อว่าล่วงศีลแล้วผลกรรมย่อมหนักหนาสาหัสทั้งนั้น ...

    การล่วงศีลมีความสาหัสโดยตรงคือนำเกิดในนรก และอบายภูมิ ส่วนที่พบความเดือดร้อนสาหัสในอัตภาพมนุษย์นั้น เป็นเพียง"เศษกรรม"ที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น ก็ขนาดเศษกรรมยังทุกข์ปางตาย แล้วผลตรงๆจะสาหัสขนาดใหน..

    สำหรับความเห็นเรื่องการพนันนั้น มาดูคำตรัสสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้า กันดีกว่าว่าทรงตรัสไว้อย่างไร.....

    ...

    อ่านเต็มที่นี่ครับ..

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=3923&Z=4206

    ขอให้มีศรัทธาในพระปัญญาญานอันยิ่งของพระพุทธเจ้า ย่อมทราบว่าธรรมใดที่ทรงบัญญัติตรัสสอนแสดง ไว้ย่อมเป็นพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ด้วยดีบริบูรณ์ไม่ต้องตัดหรือเพิ่มเลย นะครับ..

    .
     
  3. attasade

    attasade เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    342
    ค่าพลัง:
    +2,554
    อยากทราบว่าเจ้าของกระทู้ นำตรรกะอะไรมาตัดสินว่าศีลข้อไหนหนักกว่าศีลข้อไหน ในเมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่า มนุษย์ผู้ทรงศีล 5 จะสามารถปิดทางนรกได้ ขอความกรุณาเจ้าของกระทู้ตอบเพื่อคลายความสงสัยนี้ด้วยครับ
     
  4. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    สำหรับความหนักเบาความผิดของปุถุชนไม่มีน่ะครับ ดังนั้นผมต้องนำศีลของพระสงฆ์มาใช้เทียบเคียบกับของปุถุชน
    ปาราชิก
    ระดับ ครุกาบัติ
    การแก้อาบัติ ขาดจากความเป็นพระเมื่อล่วงศีล (ไม่สามารถแก้ได้)
    2.ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย) (ศีลข้อ 2)
    3.พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์ (ศีลข้อ 1)
    4.กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง) (ศีลข้อ 4)
    โทษ ต้องตกอเวจีนรก 1 ชั่วอายุ คือ หนึ่งกัปป์ (โทษของพระหนักกว่าของปุถุชน)

    สังฆาทิเสส
    ระดับ ครุกาบัติ
    การแก้อาบัติ อยู่ปริวาสกรรมเพื่อสำนึกผิด
    3.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี (ศีลข้อ 4)
    4.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน (ศีลข้อ 4)
    5.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ (ศีลข้อ 4)
    8.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล (ศีลข้อ 4)
    9.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล (ศีลข้อ 4)
    10.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน (ศีลข้อ 4)
    โทษ ต้องตกมหาตาปนรก 1 ชั่วอายุ คือ ครึ่งกัปป์ (โทษของพระหนักกว่าของปุถุชน)

    ปาจิตตีย์
    ระดับ ลหุกาบัติ
    การแก้อาบัติ ปลงลหุกาบัติ
    1.ห้ามพูดปด (ศีลข้อ 4)
    2.ห้ามด่า (ศีลข้อ 4)
    3.ห้ามพูดส่อเสียด (ศีลข้อ 4)
    12.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน (ศีลข้อ 4)
    13.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ (ศีลข้อ 4)
    51.ห้ามดื่มสุราเมรัย (ศีลข้อ 5)
    60.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น (ศีลข้อ 1,2)
    61.ห้ามฆ่าสัตว์ (ศีลข้อ 1)
    62.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์ (ศีลข้อ 1)
    74.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ (ศีลข้อ 1)
    75.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ (ศีลข้อ 1)
    โทษ ตกสังฆาฏนรก 1 ชั่วอายุ คือ 2,000 ปีของชั้นนี้ 1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 144 ล้านปีมนุษย์ 1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 52,560 ล้านปีมนุษย์ 2,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 105,120,000 ล้านปีมนุษย์ (โทษของพระหนักกว่าของปุถุชน)

    กล่าวโดยสรุป ถ้าพูดสนุกสนาน หาสาระอะไรไม่ได้จัดอยู่ในลหุกาบัติ ผมยังเห็นว่าดีกว่าการเล่นการพนัน

    ที่มา
    ศีล 227 - วิกิซอร์ซ
    http://www.lp-uthaiphuwua.com/PDF/nrok.pdf
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เหมือนคนตาบอด คลำช้างแล้วมาป่าวประกาศต่อประชาชน ว่าช้างนั้นเป็นเช่นไร

    หากจะวิจารณ์เรื่องของศีล ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนว่า ศีลนั้น มีเพื่อรักษาอะไร เหตุใดจึงต้องมีศีล จะเข้าใจตรงนี้ได้ ต้องพ้นจากความคิดแบบของมนุษย์ปุถุชน ที่มองเฉพาะชาติปัจจุบัน และสภาพสังคมปัจจุบัน ต้องเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม การให้ผลของกรรม ต้องเข้าใจเรื่องกฎของการเวียนว่ายตายเกิด และ กระบวนการขั้นตอนการไปเกิดในภพภูมิต่างๆ

    หากไม่เข้าใจถ่องแท้ในทั้งหมดนั่น แล้วมาแสดงความคิดว่า ศีลควรเป็นเช่นนั้น ควรเป็นเช่นนี้ ก็เหมือนคนตาบอด พยายามอธิบายสิ่งที่ต้องใช้ตาในการดู
     
  6. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    ผมว่าคุณอินทรบุตร น่าจะเข้าใจในตัวผมผิดน่ะครับ ประเด็นนี้ที่ผมตั้งขึ้นมาเพราะผมสงสัยและอยากรู้จริงๆ หรือกล่าวให้ถูกก็คือคนโง่ต้องการคำตอบ แต่คุณอินทรน่าจะเข้าใจว่าอวดรู้ ตั้งตัวเป็นศาสดา ต้องการบัญญัติศีลใหม่
    ขอยืนยันครับว่าผมอยากรู้จริงๆ ในส่วนเหตุผลที่ยกมานั้น เพื่อใช้ประกอบคำอธิบาย เพราะถ้าผมพูดเฉยๆ ว่า ศีลควรมี 6 ข้อ ก็ต้องมีคนถามมาอีกว่าข้อที่เพิ่มมานั้นคืออะไร ถ้าผมบอกว่าศีลข้อนั้นคือการพนันก็ต้องมีคนถามมาอีกว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น
    ซึ่งผมก็พยายามอธิบายอยู่แล้ว ว่าเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว กล่าวโดยสรุปเป็นความผิดของผมเองครับที่ตั้งคำถามไม่ชัดเจน
    เอาอย่างนี้ผมขอตั้งคำถามใหม่ ซึ่งเป็นมูลเหตุที่แท้จริงของปัญหาข้อนี้
    นาย ร. (เป็นหัวหน้าของผมเองครับ) ชอบดื่มเบียร์มาก ทุกๆวัน จะพกเบียร์มาทานที่ทำงานวันละ 1 กระป๋อง ทานเสร็จแล้วก็จบกันไปครับ ทำงานต่อได้ ไม่เมา ไม่ด่าไม่ว่าใคร มีสติครบถ้วน ไม่ไปเที่ยวต่อ ไม่หนีกลับบ้าน ทำงานเสร็จต้องไปรับลูกสาว ไม่มีประวัติเมาแล้วเกิดอุบติเหตุ ทำแบบนี้จนเป็นอาจิณกรรม
    แต่ไม่ได้เบียดเบียนใคร เพราะมีเงินเดือนหลายหมื่น
    นาย ต. (เป็นเพื่อนผมเอง) ชอบเล่นการพนัน เล่นไพ่ เข้าบ่อน มีเสียบ้างได้บ้าง ถ้าเสียมากๆ ไม่มีเงินกินข้าวจะมายืมเงินผม ซึ่ง นาย ต. ไม่เคยชักดาบ พูดคำไหนคำนั้น ถึงเวลามีเงินมาใช้คืนตลอด (ส่วนใหญ่จะใช้เดือนถัดไปครับ) ในส่วนตัวผมที่ให้ยืมนั้น ก็มิได้เดือดเนื้อร้อนใจกับเรื่องที่ให้เขายืมเงิน
    (ไม่ได้รวยครับ แต่ใช้เงินอย่างประหยัด มีพอเหลือเก็บ และเพื่อนผมคนนี้ไม่เคยเบี้ยว) การยืมเงินนั้นนานๆ จะยืมสักครั้ง
    ขอถามว่าใครบาปกว่ากันครับ ถ้าท่านเป็นพญายมท่านจะตัดสินแบบใด (ขอเฉพาะกรณีนี้น่ะครับ ไม่นับบาปกรรมอื่นๆ หรือบุญที่พวกเขาทำ)
    ถ้าตัดสินว่า นาย ร. โทษหนักกว่าผมรู้สึกว่า(คิดเองน่ะครับ) ไม่ค่อยแฟร์


    หมายเหตุ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังสงสัยได้ แล้วผมจะสงสัยไม่ได้เหรอ
    เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช วันหนึ่งทรงรักษาอุโบสถศีล ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนปราสาทในปัจฉิมยาม ทรงเกิดความสงสัยขึ้นว่า ทานประเสริฐหรือพรหมจรรย์ประเสริฐกว่า พระโพธิสัตว์ไม่สามารถตัดความสงสัยของพระองค์ได้ในขณะนั้น ภพของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมาท้าวสักกะทรงรำลึกถึงก็ทราบเหตุ ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ทรงวิตกอยู่อย่างนั้น จึงทรงดำริว่า เราจะตัดความสงสัยของพระโพธิสัตว์จึงเสด็จมาประทับอยู่ข้างหน้า พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามว่า “ท่านเป็นใคร?”
    จึงทรงบอกว่า พระองค์เป็นเทวราช แล้วตรัสถามว่า “มหาราช พระองค์ทรงดำริถึงอะไร?” พระโพธิสัตว์จึงตรัสบอกความสงสัยนั้น ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงให้เห็นว่า พรหมจรรย์นั่นแหละประเสริฐที่สุด จึงตรัสชี้แจงว่า

    บุคคลเกิดในตระกูลกษัตริย์ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิดเป็นเทวดา ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์ปานกลางบุคคลบริสุทธิ์ได้ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์อย่างสูง

    เพราะพรหมจรรย์เหล่านี้มิใช่จะปฏิบัติได้ง่ายๆ ด้วยการประกอบพิธีวิงวอนขอร้องอะไรๆ บุคคลผู้ที่เกิดในหมู่พรหมได้ต้องออกบวชบำเพ็ญตบะ

    (อธิบายว่า เมื่อพระภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาเกิดในหมู่เทพอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างต่ำด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น บุคคลย่อมเกิดในเทวโลกตามที่ตนปรารถนา

    การที่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ยังฌานสมาบัติ ๘ ให้เกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์ปานกลาง ด้วยพรหมจรรย์ปานกลางนั้นบุคคลย่อมเกิดในพรหมโลก

    ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูง บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์สูงสุดนั้น)

    สุดท้าย ท้าวสักกะได้ตรัสว่า

    “มหาราช การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นั้นแหละมีผลมากกว่าทานร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า แต่ถึงแม้พรหมจรรย์จะมีผลมากกว่าทานก็จริง ถึงกระนั้นพระมหาบุรุษก็ควรทำทั้งสองอย่าง จงเป็นผู้ไม่ประมาทในทานและพรหมจรรย์ทั้งสองจงให้ทานและจงรักษาศีลเถิด”
    ตรัสดังนี้ แล้วก็เสด็จกลับเทวโลก
    เนมิราชชาดก : พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก, มมร. เล่ม ๖๓ หน้า ๒๑๓
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ก็บอกไปหมดแล้วนะ ว่าถ้าต้องการจะเข้าใจให้ถ่องแท้ ต้องรู้แจ้งในเรื่องใดบ้าง
    อยากรู้ในเรื่องพวกนั้น ต้องรู้ให้ได้ ว่าจะพ้นจากอำนาจของความคิดยังไง เพราะการจะรู้ในเรื่องเหล่านั้นได้ ไม่ได้อาศัยการคิด

    จะพยายามนั่งคิดนั่งเดาต่อไป มันก็ไม่พ้นคลำช้างต่อไปเรื่อยๆ
     
  8. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    เข้าใจแล้ว เข้าใจแล้วครับ ปัจจัตตังนี้เอง (ขอปิดกระทู้เลยครับ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...