การทำลายชีวิตที่ไม่ถือว่าเป็นบาปใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การฝืนใจประหารนักโทษ เหตุมาจากคำสั่ง ที่ต้องปฏิบัติตาม และเป็นภาระหน้าที่ ที่ต้องกระทำ ถ้าบุคคลผู้นั้น มีความผิดจริง สมเหตุสมผล การประหารชีวิตนั้น ไม่ถือว่าเป็นบาปใหญ่ การถือศีลปฏิบัติธรรม การกรวดน้ำ ทำบุญ ให้ทาน ก็สามารถแก้ไขได้ หากเป็นคำสั่งประหาร ที่ไม่ชอบธรรม ไม่มีความผิดจริง ไม่สมเหตุสมผล บาปใหญ่ที่กระทำ จะตกอยู่แก่ผู้ออกคำสั่ง ในภาระนั้น ถ้าไม่ต้องการประหาร อันเป็นการผิดในศีล ก็ควรกักกันให้อยู่ในที่อันสมควร ไม่ให้ออกมาก่อปัญหาให้กับสังคม ในเรื่องของการประหารชีวิตสัตว์ เพื่อนำมาประกอบอาหาร ก็เช่นเดียวกัน ผู้บริโภคในเนื้อนั้น มีส่วนรับผิดชอบในบาปนั้น ทุกคน บริโภคมากก็บาปมาก หากบริโภคน้อย ก็บาปน้อย สัตว์ก็ตายน้อยลง บาปที่เกิดก็น้อยลงเช่นเดียวกัน อนุโมทนาครับ <!-- / message --><!-- sig -->
ธรรมข้อนี้ท่านยกขึ้นแสดงจากไหน อ้างอิงจากอะไร เทียบจากพระไตรปิฏกแล้วตรงกันหรือคลาดเคลื่อนหรือเปล่า กลับไปศึกษาดูอีกครั้งนะครับ
จริงแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ถือเป็นบาป....จริง ๆ แล้วหากหลีกเลี่ยงได้ที่เหตุโดยการยึดอาชีพอื่นแทน ก็สามารถทำได้ และบาปมากหรือน้อยนั้นเห็นจะวัดได้ยาก