เสียงธรรม บทสวดมนต์ ทิพย์มนต์ "เจริญธาตุ ๖/ พระคาถาอุปปาตะสันติ

ในห้อง 'บทสวดมนต์' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 15 มิถุนายน 2020.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    พุทธะอุทานะคาถา

    มนต์พิธี
    Apr 28, 2017
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดมนต์ ปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ "ฉบับเจริญจิตฺตภาวนา

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    May 28, 2021
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต
    "..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมี ผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้เรียกว่า ชรา

    การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตายการ ทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้เรียกว่า มรณะ ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ชรามรณะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ชาติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภพ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ภพ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่าง เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า อุปาทาน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ตัณหา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่เวทนา ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา เวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา-เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า เวทนา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่ผัสสะ ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าผัสสะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า? จักข์วายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหา ยตนะกายายตนะ มนายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า สฬายตนะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นามรูป เป็นอย่างไรเล่า? เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ : นี้ เรียกว่า นาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย: นี้ เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า นามรูป
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่วิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า วิญญาณ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เรียกว่า สังขาร ทั้งหลาย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความไม่รู้อันใดแล เป็นความไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นความไม่รู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า อวิชชา
    (ความหมายของปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ)
    "จัดทำเผยแพร่เพื่อรักษามรดกธรรมของพระพุทธศาสนา พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพื่อเทิดทูนบูชาพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่พุทธบริษัทสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดมนต์ ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก Pali Tripitaka chant - Theravada Pali Chanting โดยพระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    May 27, 2022
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต

    การสวดมนต์ ของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านสวดมาก สวดนานเป็นชั่วโมงๆ และสวดเป็นประจำทุกคืนมิได้ขาด สูตรยาวๆ เช่น ธรรมจักร (ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร) และมหาสมัย ท่านสวดเป็นประจำ ในกรณีพิเศษ เช่น เมื่อคราวท่านกับหลวงปู่เสาร์ไปวิเวกที่ท่าแขก ฝั่งประเทศลาว และชาวบ้านเกิดโรคฝีดาษกันทั้งหมู่บ้าน ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ เวลากลางวัน ตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาครั้งหนึ่ง ตอนก่อนนอนครั้งหนึ่ง ตอนตื่นนอนครั้งหนึ่ง ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง และท่านกล่าวถึงอานุภาพของการสวดมนต์ไหว้พระว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตามจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ เช้า-เย็น หรือชาวพุทธทุกคนสวดพุทธคุณ: ·
    ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล ·
    พูดหรือออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล ·
    สวดมนต์เช้า-เย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล ·
    สวดเต็มเสียง สุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล · แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพและที่สุดอเวจี มหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ ผ่านลงไปชั่วขณะหนึ่งครู่หนึ่ง ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล (จาก“ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” โดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน,
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวด ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะวิธี (ตอนเช้า) ๓ จบ

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Jan 19, 2023
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต

    บทสวด ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะวิธี (หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)
    ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ, ยาวะเทวะ
    สีตัสสะปะฏิฆาตายะ, อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
    ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง
    ปะฏิฆาตายะ, ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ฯ
    ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ ,
    เนวะ ท๎วายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ
    นะ วิภูสะนายะ , ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา
    ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรัหมะจะริยานุคคะหายะ ,
    อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ นะวัญจะ เวทะนัง
    นะ อุปปาเทสสามิ , ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา
    จะ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ
    ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ ,
    ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ , อุณ๎หัสสะ
    ปะฏิฆาตายะ , ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริง-
    สะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ , ยาวะเทวะ
    อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง ฯ
    ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง
    ปะฏิเสวามิ, ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง
    เวทะนานังปะฏิฆาตายะ, อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติ ฯ
    "
    .ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2023
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ [มคธ] ภาวนา ๓ จบ Abhidhamma Chant

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Feb 6, 2023
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต Abhidhamma Chant

    “ อานนท์เอ๋ย ” บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว เรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึ งใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”
    ".ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]
    ".ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ภิกขุปาฏิโมกข์ สังฆอุโบสถ พระวินัย ๒๒๗ บทในพระปาฏิโมกข์ สวดโดยพระทรงวุฒิ ถิรจิตโต (มคธ)

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Jul 3, 2023

    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต "..
    ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์ การสวดปาฏิโมกข์ เป็นทั้งสังฆกรรมตามพระวินัย และเป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนา ควรมีโอกาสได้ร่วมฟัง ใน วินัยระบุว่า วัดหนึ่งจะต้องมีภิกษุสวดปาฏิมกข์ได้หนึ่งรูป หากไม่มีเจ้าอาวาสต้องขวนขวายให้มี หากไม่ขวนขวายเป็นอาบัติ ถ้าขวนขวายแล้วยังไม่มี พอถึงวันปาฏิโมกข์ต้องไปร่วมฟังในวัดที่มีการสวดปาฏิโมกข์ ถ้าในย่านนั้นไม่มีวัดที่มีภิกษุสวดปาฏิโมกข์ หรือมีภิกษุไม่ครบ ๔ รูป ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์ แต่ให้อธิษฐานอุโบสถแทน โดยตั้งใจว่า "วันนี้เป็นวันอุโบสถ" "..ศีลของพระภิกษุที่มาในพระปาติโมกข์ ซึ่งพระต้องประชุมกันฟังทุกกึ่งเดือน มีจำนวนที่รู้ทั่วกันว่า “๒๒๗ สิกขาบท” ดังที่มักพูดกันว่า “พระมีศีล ๒๒๗” ศีล ๒๒๗ แบ่งเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดได้ดังนี้ –
    (๑) ปาราชิก ๔ สิกขาบท
    (๒) สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท
    (๓) อนิยต ๒ สิกขาบท
    (๔) นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท (เรียกสั้นว่า นิสสัคคีย์)
    (๕) สุทธิกปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท (เรียกสั้นว่า ปาจิตตีย์)
    (๖) ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท
    (๗) เสขิยะ หรือเสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท
    (๘) อธิกรณสมถะ ๗ สิกขาบท
    รวม ๒๒๗ สิกขาบท"
    "..ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐาน เป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพ และหาชีพมิได้ เป็นต้นว่า พฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขร และสัตว์จตุบททวิบาท นานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่ง เหมือนเรือนที่มีบุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นพื้นฐาน เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดด และฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวาย เมื่อลม แดด และฝน กล่าวคือ โลกธรรม แผดเผากระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยีและเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่าง ๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน
    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้นย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละออง คือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"
    "อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตใจให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"
    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ย่อมพบกับปีติปราโมทย์อันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ เอิบอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่า บัดนี้ กิเลสานุสัยต่าง ๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่า บัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว"

    ".ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า {ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสงสว่าง บนผืนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง} เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2023
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า พระพุทธมนต์พระสูตร พระปริตร "เจริญสติภาวนา

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    157,502 views Jun 19, 2023
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต
    การสวดมนต์ ของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านสวดมาก สวดนานเป็นชั่วโมงๆ และสวดเป็นประจำทุกคืนมิได้ขาด สูตรยาวๆ เช่น ธรรมจักร (ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร) และมหาสมัย ท่านสวดเป็นประจำ ในกรณีพิเศษ เช่น เมื่อคราวท่านกับหลวงปู่เสาร์ไปวิเวกที่ท่าแขก ฝั่งประเทศลาว และชาวบ้านเกิดโรคฝีดาษกันทั้งหมู่บ้าน ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ เวลากลางวัน ตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาครั้งหนึ่ง ตอนก่อนนอนครั้งหนึ่ง ตอนตื่นนอนครั้งหนึ่ง ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง และท่านกล่าวถึงอานุภาพของการสวดมนต์ไหว้พระว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตามจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ เช้า-เย็น หรือชาวพุทธทุกคนสวดพุทธคุณ:

    · ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
    · พูดหรือออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล
    · สวดมนต์เช้า-เย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล
    · สวดเต็มเสียง สุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
    · แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพและที่สุดอเวจี มหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ ผ่านลงไปชั่วขณะหนึ่งครู่หนึ่ง ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล
    (จาก“ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” โดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน,
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่นเป็นสัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย ”
    “ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ” ".

    ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า {ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสงสว่าง บนผืนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง} เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต]


     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดขันธปริตร วิรูปักเขฯ ขันธะปะริตตะคาถา (ศรีลังกา)

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Jun 12, 2023

    "..บทสวดมนต์ วิรูปักเข ขันธะปะริตตะคาถา
    สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2] เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ....ขันธปริตรเป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1] "ตำ น า น พ ร ะ ป ริ ต ร ( ตามปกติ คำว่าตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริตรบทๆ หนึ่งว่า ตำนาน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะแผลงมาจาก คำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ต้านทาน หรือป้องกันเช่นเดียวกับคำว่า ปริตร หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้) "การสวดพระปริตรหรือเจ็ดตำนานนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังกา ราว พ.ศ. ๕๐๐ "
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดมนต์ มงคลจักรวาฬ ๘ ทิศ ภาวนา ๓ จบ

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Mar 22, 2023

    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต
    การสวดมนต์ ของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านสวดมาก สวดนานเป็นชั่วโมงๆ และสวดเป็นประจำทุกคืนมิได้ขาด สูตรยาวๆ เช่น ธรรมจักร (ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร) และมหาสมัย ท่านสวดเป็นประจำ ในกรณีพิเศษ เช่น เมื่อคราวท่านกับหลวงปู่เสาร์ไปวิเวกที่ท่าแขก ฝั่งประเทศลาว และชาวบ้านเกิดโรคฝีดาษกันทั้งหมู่บ้าน ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ เวลากลางวัน ตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาครั้งหนึ่ง ตอนก่อนนอนครั้งหนึ่ง ตอนตื่นนอนครั้งหนึ่ง ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง และท่านกล่าวถึงอานุภาพของการสวดมนต์ไหว้พระว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตามจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์

    เช้า-เย็น หรือชาวพุทธทุกคนสวดพุทธคุณ: ·
    ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล ·
    พูดหรือออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล ·
    สวดมนต์เช้า-เย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล ·
    สวดเต็มเสียง สุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล · แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพและที่สุดอเวจี มหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ ผ่านลงไปชั่วขณะหนึ่งครู่หนึ่ง ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล
    (จาก“ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” โดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน,
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เจริญพระพุทธมนต์ พระสูตร พระปริตร พาหุงฯมหากา "ภาวนาชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส Thai Monks Pali Chanting

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Jul 10, 2023

    บทพระพุทธมนต์ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทนั้นท่านใช้ภาษาบาลี ซึ่งถ้าแปลความหมายออกมาก็จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคำสวดบูชาเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แทบทั้งสิ้น จึงนับเป็นอุบายในการเจริญสติอย่างหนึ่ง ที่เรียก พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ
    ในการสวดมนต์ทุกครั้ง จะเริ่มด้วยคำบูชาพระบรมศาสดาว่า “ นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” แปลความว่า “ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” และตามด้วยพระพุทธมนต์บทต่างๆ ตามแต่วาระและโอกาส ซึ่งเป็นกิจที่เราชาวพุทธทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน.
    "การสวดมนต์ ของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านสวดมาก สวดนานเป็นชั่วโมงๆ และสวดเป็นประจำทุกคืนมิได้ขาด สูตรยาวๆ เช่น ธรรมจักร (ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร) และมหาสมัย ท่านสวดเป็นประจำ ในกรณีพิเศษ เช่น เมื่อคราวท่านกับหลวงปู่เสาร์ไปวิเวกที่ท่าแขก ฝั่งประเทศลาว และชาวบ้านเกิดโรคฝีดาษกันทั้งหมู่บ้าน ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ เวลากลางวัน ตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาครั้งหนึ่ง ตอนก่อนนอนครั้งหนึ่ง ตอนตื่นนอนครั้งหนึ่ง ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง และท่านกล่าวถึงอานุภาพของการสวดมนต์ไหว้พระว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตามจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ เช้า-เย็น หรือชาวพุทธทุกคนสวดพุทธคุณ:
    · ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
    · พูดหรือออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล
    · สวดมนต์เช้า-เย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล
    · สวดเต็มเสียง สุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
    · แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพและที่สุดอเวจี มหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ ผ่านลงไปชั่วขณะหนึ่งครู่หนึ่ง ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล
    (จาก“ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” โดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน, ".

    ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า {ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสงสว่าง บนผืนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง} เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..
    ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ"

    [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2024
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทสวดวิปัสสิส อาฏานาฏิยปริตร (อาฏานาฏิยะปะริตตัง)

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    Jan 29, 2019
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต Thai Monks Pali Chanting | Theravada Pali Chanting | Paritta Chanting - Atanatiyaparittam "
    ความเป็นมาของบทสวด วิปัสสิส (อาฏานาฏิยปริตร)
    สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินทราธิราช
    พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี
    ท้าววธตรัฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
    ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
    ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิม
    ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร
    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์ สาวกของพระบรมสุคตเจ้า จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็ให้พวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา กุมภัณฑ์รักษาทิศทักษิณ นาครักษาทิศปัจจิม ยักษ์รักษาทิศอุดร ครั้นแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ประชุมพร้อมกันที่ อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พร้อมกับผูกมนต์อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งมีเนื้อความสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ มี
    พระวิปัสสี ผู้มีสิริอันงาม
    พระสิขีพุทธเจ้า ผู้มากด้วยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
    พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส มีตบะ
    พระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้มีชัยชนะแก่พญามารและเสนามาร
    โกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วมีพรหมจรรย์อันจบแล้ว
    กัสสปะพุทธเจ้า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากกองกิเลสทั้งปวง
    พระอังคีสพุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งหมู่ศากยราช ผู้มีศักดิ์ มีสิริ ดัง นี้เป็นต้น

    ครั้นผูกมนต์พระปริตรแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงประกาศแก่บริวารของตนว่า ธรรมอาณาจักรของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมครูของเราทั้ง ๔ ถ้ามีผู้ใดสาธยายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร นี้ขึ้น แล้วถ้าใครไม่เชื่อฟัง ไม่สดับ จะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม รุนแรง และแล้วมหาราชทั้ง ๔ ก็พร้อมใจกันลงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กราบบังคมทูลว่าหมู่ยักษ์ทั้งหลาย หมู่นาคทั้งหลาย หมู่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย และหมู่คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีจิตกระด้างหยาบช้า ละเมิดเบญจศีลเป็นอาจิณ ที่ยังไม่เลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยนั้นมีมากพวกที่เลื่อมใสนั้นมีน้อย เมื่อพระสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ในที่ห่างไกลจากมนุษย์สัญจร อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมจะย่ำยี หลอนหลอก กระทำให้เจ็บไข้เป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ แต่ต่อนี้ไปจะไม่บังเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกแล้ว ถ้าพระบรมสุคตเจ้าทรงพระกรุณาโปรดรับมนต์อาฏานาฏิยปริตรนี้ไว้ แล้วโปรดประทานให้พระภิกษุสาวก สาธยายอยู่เนือง ๆ อมนุษย์ทั้งปวงก็จะมิกล้าย่ำยีหลอนหลอกทำร้าย อีกทั้งยังจะช่วยปกป้องคุ้มครอง กันภัยทั้งปวงให้อีกด้วยพระเจ้าข้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับมนต์พระปริตรนั้นโดยดุษฏี ท้าวเวสวัณ ก็แสดงอาฏานาฏิยปริตรนั้นถวายและแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ก็ถวายมนัสการลา สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เรียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า
    บทสวดวิปัสสิส (อาฏานาฏิยปริตร)
    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พ๎ราห๎มะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา หิตัง เทวะมะนสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ ( วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ ) ".

    ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..
    วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,937
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    บทแผ่เมตตาหลวง ภาวนาเป็นการเจริญเมตตา ไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ

    พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    May 31, 2023
    สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต

    คาถาพระเมตตาหลวง “พระคาถาเมตตาหลวง” พระคาถาบทนี้ องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเจริญเมตตา ไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ ให้หมู่มนุษย์ และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน พระคาถาบทนี้ หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ได้รับถ่ายทอดไว้ และได้มอบให้กับพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่เมตตาหลวง (สิงห์ สุนทโร) แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อใช้เป็นบทเจริญเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั่วทุกทิศานุทิศ พระคาถาเมตตาหลวงนี้เป็นการเจริญกรรมฐานที่มีอานิสงส์ ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงระดับ อัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ ๓ ส่วน อุเบกขา จิตสามารถตั้งมั่นในฌาณ ๔ ในหมวดกรรมฐาน ๔๐ กอง บทนี้เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญา ๔ พระคาถาเมตตาหลวง ประกอบด้วย บทเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา และแผ่เมตตาเป็น ๓ สถาน คือ แผ่แบบ อโนทิศ , โอทิศ และ ทิสาผรณะ คือ แผ่เมตตามิได้เฉพาะก็ดี เฉพาะก็ดี แผ่ทั่วทิศทั้ง ๑๐ ก็ดี มีเมตตาจิตให้เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงเบื้องบนถึงภวัคคพรหมเป็นที่สุด เบื้องต่ำตลอดอเวจีนรก โดยปริมณฑลทั่วอนันตสัตว์อันอยู่ในอนันตจักรวาล. ".
    ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า {ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสงสว่าง บนผืนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง} เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ" [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต]


     

แชร์หน้านี้

Loading...